วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

4.จงอธิบายความหมายของกฎหมายมหาชน และ ลักษณะเฉพาะ 6 ประการของกฎหมายมหาชนมีอย่างไรบ้าง

ความหมายของกฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หน่วยงานของรัฐรวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐกับราษฎร ในลักษณะที่รัฐ หน่วยงานของรัฐ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐมีเอกสิทธิ์หรือมีสถานะเหนือกว่าราษฎรซึ่งเป็นเอกชน จากคำอธิบายของศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายมหาชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ สรุปได้ว่า ? กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการใช้อำนาจรัฐเกี่ยวกับการปกครอง หรือ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองของรัฐ ?

 ลักษณะเฉพาะ 6 ประการของกฎหมายมหาชน มีดังต่อไปนี้ :-

1) กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่ใช้ในการปฏิรูป? อาทิเช่น การปฏิรูปการปกครอง การปฏิรูปการเมือง การปฏิรูปการศึกษา การปฏิรูปเศรษฐกิจ ฯลฯ การปฏิรูปดังกล่าว เป็นการที่รัฐใช้อำนาจตามกฎหมายมหาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง อันเป็นการพัฒนาชาติและสังคม

 2) กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่ใช้กับนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนและบุคคลธรรมดา นิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม จังหวัด องค์กรส่วนท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา รัฐวิสาหกิจ วัดในพระพุทธศาสนา และองค์การมหาชน

ส่วนบุคคลธรรมดา ได้แก่ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป

 3) กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่มีเพื่อสาธารณะประโยชน์? สาธารณะประโยชน์หมายถึง ประโยชน์อันเป็นส่วนรวมของคนหมู่มาก? หลักกฎหมายมหาชนล้วนมีวัตถุประสงค์เพื่อสาธารณะประโยชน์ทั้งสิ้น

 4) กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่ไม่เสมอภาค สามารถบังคับเอาได้? กล่าวคือ ความไม่เสมอภาคจะปรากฏให้เห็นในลักษณะที่เป็น ?เอกสิทธิ์? ของฝ่ายปกครองที่มีฐานะอยู่เหนือเอกชน? ส่วนที่ว่าเป็นกฎหมายที่มีลักษณะบังคับนั้น? คือ การที่ฝ่ายปกครองมีเอกสิทธิ์เหนือเอกชน ทำให้คำสั่งทางปกครองมีสภาพบังคับต่อเอกชนโดยทันที

 5) กฎหมายมหาชนมีวัตถุประสงค์ในการควบคุมอำนาจรัฐและหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐและฝ่ายปกครอง กล่าวคือ ในรัฐเสรีนิยมประชาธิปไตยนั้น รัฐ หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ และฝ่ายปกครองนั้นเองก็จะต้องอยู่ภายใต้กฏเกณฑ์ของกฎหมายเช่นเดียวกัน

 6) ลักษณะพัฒนาการของกฎหมายมหาชน?? พัฒนาการของกฎหมายมหาชนกับกฎหมายเอกชนมีความแตกต่างกันมาก กฎหมายเอกชนนั้นมีการศึกษาอย่างต่อเนื่องและมีพัฒนาการมาโดยตลอด ส่วนกฎหมายมหาชนนั้น มีข้อจำกัดในเรื่องการศึกษาและพัฒนาการ เนื่องจาก เป็นกรณีที่ต้องไปวิพากษ์วิจารณ์อำนาจรัฐ? พัฒนาการของกฎหมายมหาชนจึงขาดความต่อเนื่อง

ไม่มีความคิดเห็น: